วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Multiple Intelligences


พหุปัญญา(Multiple Intelligences )
     

       ปัญญาทั้ง 8 ด้านมีอยู่ในเราทุกคน แต่คนเราจะมีด้านที่เด่นบางด้าน ในขณะที่บางด้านด้อยกว่า แต่สามารถพัฒนาได้ดั่งเช่นที่ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Howard Gardner เสนอให้พัฒนาปัญญาทั้ง 8 ด้าน

สรุปแล้ว Multiple Intelligence แรกเริ่มโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ได้แก่
1. ความฉลาดทางด้านภาษา (Linguistic intelligence)
2. ความฉลาดทางด้านตรรกะ (Logical-mathematic intelligence)
3. ความฉลาดทางด้านดนตรี (Musical intelligence)
4. ความฉลาดทางด้านมิติ (Spatial intelligence)
5. ความฉลาดทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily-kinesthetic intelligence)
6. ความฉลาดในการเป็นผู้นำ (Interpersonal intelligence)
7. ความฉลาดภายในตน (Intrapersonal intelligence)
8. ความฉลาดทางด้านธรรมชาติ (Naturalist intelligence)
9. ความฉลาดในการคิดใคร่ครวญ (Existential intelligence)




Whole Language Approach


การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach)


               การสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น การสอนจะไม่แยกสอนส่วนย่อยของภาษาทีละส่วนแต่เน้นให้เข้าใจในภาพรวมก่อน แล้วจึงเรียนรู้ด้านโครงสร้างภาษาภายหลัง ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ ผู้สอนต้องยอมรับความแตกต่างด้านการออกเสียงที่เป็นสำเนียงภาษา ถิ่น(dialects) ในเบื้องต้น แล้วจึงพัฒนาให้ถูกต้องในโอกาสต่อไป การสอนภาษาแบบองค์รวมจะเน้นการนำรวมวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภาษาที่หลากหลาย สามารถนำไปเป็นแบบอย่างการใช้ภาษาของตนเองและใช้ได้ในสังคมอย่างมี ประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวมจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและยึด หลักการประชาธิปไตยในชั้นเรียน

 

Cooperative Learning


การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ  (Cooperative  Learning)

          การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือนับว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้กระบวนการกลุ่มให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์และเกิดความสำเร็จร่วมกันของกลุ่ม ซึ่งการเรียนแบบร่วมมือมิใช่เป็นเพียงจัดให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม เช่น ทำรายงาน ทำกิจกรรมประดิษฐ์หรือสร้างชิ้นงาน  อภิปราย ตลอดจนปฏิบัติการทดลองแล้ว ผู้สอนทำหน้าที่สรุปความรู้ด้วยตนเองเท่านั้น แต่ผู้สอนจะต้องพยายามใช้กลยุทธ์วิธีให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการประมวลสิ่งที่มาจากการทำกิจกรรมต่างๆ จัดระบบความรู้สรุปเป็นองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นหลักการสำคัญ (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2544 :15 ) ดังนั้น การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผู้สอนจะต้องเลือกเทคนิคการจัดการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียน และผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมที่จะร่วมกันทำกิจกรรม รับผิดชอบงานของกลุ่มร่วมกัน โดยที่กลุ่มจะประสบความสำเร็จได้ เมื่อสมาชิกทุกคนได้เรียนรู้บรรลุตามจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นคือ การเรียนเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

Task – Based Learning




การเรียนรู้ตามภาระงาน(Task – Based  Learning)


          รูปแบบการสอนแบบดั้งเดิมสำหรับชั้นเรียนของการเรียนภาษาทั้งในชั้นเรียน และในหลักสูตรที่มีมานานแล้วคือ วิธี สอนแบบPPP (การนำเสนอ การปฏิบัติ, การผลิต) ด้วยรูปแบบการสอนแบบเดียว (เช่น การสอนเรื่อง the past continuous) จะถูกนำเสนอโดยครูให้ฝึกพูดและเขียน ตามรูปแบบ (โดยการฝึกซ้ำๆ) และให้ผู้เรียนฝึกพูดหรือการเขียนด้วยตนเองโดยมีการควบคุมเล็กน้อย แม้ว่าการนำเสนอหลักไวยากรณ์เป็นจุดเน้นสำคัญแต่ไม่ตอบสนองความต้องการทาง ด้านภาษาศาสตร์ของผู้เรียน